กรุงไทยการไฟฟ้าใช้คุกกี้ Cookie เพื่อสำรวจหน้าเว็บไซต์และสามารถวิเคราะห์การใช้งานเว็บไซต์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมทั้งสามารถส่งมอบบริการที่ดีที่สุดให้แก่ท่าน ทั้งนี้ กรุงไทยการไฟฟ้าจะไม่ใช้คุกกี้ทางเลือกจนกว่าท่านจะอนุญาตให้กรุงไทยการไฟฟ้า เปิดใช้งานคุกกี้ดังกล่าว โดยท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ รายละเอียดนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล | รายละเอียดนโยบายการใช้งานคุกกี้

Tips กาต้มน้ำไฟฟ้าชาร์ป




กลิ่นคลอรีนในน้ำประปา

คลอรีนเป็นสารฆ่าเชื้อโรคที่ทางการประปานครหลวงและการประปาส่วนภูมิภาคได้ใช้กันมานานมากแล้ว และมีการใช้ทั่วโลกมา 100 กว่าปี การเติมคลอรีนในระบบผลิตน้ำประปาด้วยปริมาณเพียงเล็กน้อย สามารถรักษาสภาพการฆ่าเชื้อโรคได้ตลอดเส้นทางของน้ำประปาจากโรงจ่ายน้ำสู่ผู้ใช้น้ำ ซึ่งผู้ใช้น้ำอาจมีโอกาสได้รสและกลิ่นอ่อน ๆ ของคลอรีนเมื่อเปิดก๊อกน้ำ

การกำจัดกลิ่นคลอรีน ง่ายมาก ...เพียงรองน้ำใส่ภาชนะเปิดฝาทิ้งไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง กลิ่นคลอรีนจะระเหยไปเองจนหมด

หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับคุณภาพน้ำประปา สามารถดูรายละเอียดได้ที่ http://cwc.mwa.co.th/index.php?page=showarticle_tab.php

ข้อแนะนำในการชงชาจากใบชา

  1. อุณหภูมิน้ำร้อนที่ใช้ชงชาควรมากกว่า 90˚C เทน้ำร้อนล้างกาชาก่อน 1 ครั้ง เทน้ำทิ้งให้หมดกา แล้วจึงใส่ใบชาลงไป 1/3 ของกาชา ทิ้งไว้ 2-3 นาที (ไอน้ำที่ยังเหลืออยู่ในกาชาจะค่อย ๆ ปลุกใบชา เพื่อให้มีกลิ่นหอมขับออกจากใบชา)
  2. เทน้ำร้อนลงในกาชา น้ำร้อนจะทำให้ใบชาตื่นจากภวังค์อย่างเต็มที่
  3. เทน้ำร้อนให้เต็มกาชาแล้วทิ้งไว้ประมาณ 4 นาที จึงรินน้ำชาออกมาเก็บไว้ในเหยือกแก้วต่างหาก ควรรินน้ำให้หมดกา (ชาจะมีรสขม ถ้าทิ้งน้ำชงชาไว้ในกาชาเกินกว่า 4 นาที)
  4. รินชาจากเหยือกแก้วลงในถ้วยดื่ม ควรรินโดยยกเหยือกสูงกว่าถ้วย 1 ฟุต เพื่อให้น้ำชาได้รับออกซิเจนก่อนดื่ม จะทำให้รสชาติดีขึ้น
  5. ยกถ้วยขึ้นดมกลิ่น – ตาสังเกตดูสีของน้ำชา – (สีทองสำหรับชาอูหลง แต่จะมีสีเขียวอ่อนสำหรับชาเขียว) จากนั้นชิมให้ชื่นใจ

ที่มา: www.doichangtea.com

ตะกรันในน้ำเกิดขึ้นได้อย่างไร

เมื่อเราต้มน้ำในภาชนะ โดยเฉพาะในกระติกน้ำร้อน หรือกาต้มน้ำ บางครั้งจะสังเกตุเห็นว่ามีคราบขาว ๆ ลอยปะปนอยู่ในน้ำ และเมื่อทิ้งไว้จะตกตะกอนเป็นแผ่นคล้ายหินปูนเกาะอยู่กับภาชนะนั้น คราบเหล่านี้คือ "ตะกรัน" ตะกรัน คือ กลุ่มหินปูนจำพวกเกลือแคลเซียม แมกนีเซียม ที่มากับน้ำที่เรานำมาต้ม ซึ่งมีอยู่ทั่วไปทุกแหล่งน้ำรวมทั้งน้ำประปา แต่อาจพบมากในน้ำบาดาล, น้ำฝน แม้แต่น้ำดื่มบรรจุขวดขนาดต่าง ๆ ที่มีแหล่งผลิตจากน้ำบาดาล หรือน้ำดื่มบรรจุขวดที่วางตลาดในกลุ่มน้ำแร่ ซึ่งจะน้ำพวกนี้ จะมีแร่ธาตุประเภทต่าง ๆ สูงกว่าปกติ เมื่อมีการต้มน้ำและน้ำได้ระเหยกลายเป็นไอ ก็จะทิ้งหินปูนพวกนี้ก็จะตกตะกอน กลายเป็น ตะกรัน

หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับคุณภาพน้ำประปา สามารถดูรายละเอียดได้ที่ http://cwc.mwa.co.th/index.php?page=showarticle_tab.php