We use cookies to personalise content and to provide you with an improved user experience. By continuing to browse this site you consent to the use of cookies. Please visit our cookie policy for further details. Privacy Policy | Cookies Policy

Tips กาต้มน้ำไฟฟ้าชาร์ป




กลิ่นคลอรีนในน้ำประปา

บางครั้งท่านได้รองน้ำประปาจากก๊อกโดยตรงแล้วนำไปต้มทันทีนั้น อาจได้กลิ่นหรือรสอ่อนของคลอรีนนั้น ไม่ต้องตกใจ....

คลอรีนเป็นสารฆ่าเชื้อโรคที่ทางการประปานครหลวงและการประปาส่วนภูมิภาคได้ใช้กันมานานมากแล้ว และมีการใช้ทั่วโลกมา 100 กว่าปี การเติมคลอรีนในระบบผลิตน้ำประปาด้วยปริมาณเพียงเล็กน้อย สามารถรักษาสภาพการฆ่าเชื้อโรคได้ตลอดเส้นทางของน้ำประปาจากโรงจ่ายน้ำสู่ผู้ใช้น้ำ ซึ่งผู้ใช้น้ำอาจมีโอกาสได้รศแลกลิ่นอ่อน ๆ ของคลอรีนเมื่่อเปิดก๊อกน้ำ

การกำจัดกลิ่นคลอรีน ง่ายมาก ...เพียงรองน้ำใส่ภาชนะเปิดฝาทิ้งไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง กลิ่นคลอรีนจะระเหยไปเองจนหมด

หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับคุณภาพน้ำประปา สามารถดูรายละเอียดได้ที่ http://cwc.mwa.co.th/index.php?page=showarticle_tab.php

ข้อแนะนำในการชงชาจากใบชา

  1. อุณหภูมิน้ำร้อนที่ใช้ชงชาควรมากกว่า 90˚C เทน้ำร้อนล้างกาชาก่อน 1 ครั้ง เทน้ำทิ้งให้หมดกา แล้วจึงใส่ใบชาลงไป 1/3 ของกาชา ทิ้งไว้ 2-3 นาที (ไอน้ำที่ยังเหลืออยู่ในกาชาจะค่อย ๆ ปลุกใบชา เพื่อให้มีกลิ่นหอมขับออกจากใบชา)
  2. เทน้ำร้อนลงในกาชา น้ำร้อนจะทำให้ใบชาตื่นจากภวังค์อย่างเต็มที่
  3. เทน้ำร้อนให้เต็มกาชาแล้วทิ้งไว้ประมาณ 4 นาที จึงรินน้ำชาออกมาเก็บไว้ในเหยือกแก้วต่างหาก ควรรินน้ำให้หมดกา (ชาจะมีรสขม ถ้าทิ้งน้ำชงชาไว้ในกาชาเกินกว่า 4 นาที)
  4. รินชาจากเหยือกแก้วลงในถ้วยดื่ม ควรรินโดยยกเหยือกสูงกว่าถ้วย 1 ฟุต เพื่อให้น้ำชาได้รับออกซิเจนก่อนดื่ม จะทำให้รสชาติดีขึ้น
  5. ยกถ้วยขึ้นดมกลิ่น – ตาสังเกตดูสีของน้ำชา – (สีทองสำหรับชาอูหลง แต่จะมีสีเขียวอ่อนสำหรับชาเขียว) จากนั้นชิมให้ชื่นใจ

ที่มา: www.doichangtea.com

ตะกรันในน้ำเกิดขึ้นได้อย่างไร

เมื่อเราต้มน้ำในภาชนะ โดยเฉพาะในกระติกน้ำร้อน หรือกาต้มน้ำ บางครั้งจะสังเกตุว่ามีคราบขาว ๆ ลอยปะปนอยู่ในน้ำ และเมื่อทิ้งไว้ตกตะกอนเป็นแผ่นคล้ายหินปูนเกาะอยู่กับภาชนะนั้น คราบเหล่านี้คือ "ตะกรัน" ตะกรัน คือ กลุ่มหินปูนจำพวกเกลือแคลเซียม แมกนีเซียมที่มากับน้ำที่เรานำต้ม ซึ่งมีอยู่ทั่วไปทุกแหล่งน้ำรวมทั้งน้ำประปา แต่อาจพบมากในน้ำบาดาล, น้ำฝน แม้แต่น้ำดื่มบรรจุขวดขนาดต่าง ๆ ที่มีแหล่งผลิตจากน้ำบาดาล หรือน้ำดื่มบรรจุขวดที่วางตลาดในกลุ่มน้ำแร่ ซึ่งจะน้ำพวกนี้ จะมีแร่ธาตุประเภทต่าง ๆ สูงกว่าปกติ เมื่อมีการต้มน้ำและน้ำได้ระเหยกลายเป็นไอ ก็จะทิ้งหินปูนพวกนี้ก็จะตกตะกอน กลายเป็น ตะกรัน

หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับคุณภาพน้ำประปา สามารถดูรายละเอียดได้ที่ http://cwc.mwa.co.th/index.php?page=showarticle_tab.php